กาฬสินธุ์
คำขวัญ..." เมืองฟ้าแดดสงยาง โปรลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลหล้านปี "
แหล่งท่องเที่ยว
เมืองฟ้าแดดสงยาง
ตั้งอยู่บ้านเสมา อ.กมลาไสย เป็นเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ 1300-1600 ผังเมืองเป็นรูปไข่แบบทวารวดี มีคูเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง พบใบเสมาทรายจำนวนมากที่มีความสมบูรณ์ มีทั้งสลักลวดลายและไม่มีลวดลาย พบพระพิมพ์ดินเผาทีลักษณะอิทธิพลสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ 1,000-2,000 ปี ซึ่งใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง ได้นำไปเก็บรักษาอยู่ในวัดโพธิ์ชัยเสมาราม(วัดบ้านก้อม)
พุทธสถานภูปอ
อยู่ อ.เมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณไสยาสน์สมัยทวารวดี จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ องค์แรกอยู่บนทางขึ้น องค์ที่ 2 อยู่บนภูปอ
เขื่อนลำปาว
อยู่ อ.ยางตลาด มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ หาดดอกเกด สวนสะออน
สถานที่พักผ่อน มีเส้นทางเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ และสัตว์ป่า มีสถานที่กางเต้นท์แคมป์ไฟ เข้าค่ายประชุมสัมมนา
พุทธสถานภูสิงห์
เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะที่งดงาม ด้านข้างมีโบสถ์ที่มีรอยพระพุทธบาทจำลอง
วัดพุทธนิมิต(ภูค่าว)
อยู่ อ.สหัสขันธ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์พระนอนในท่าตะแคงซ้ายไม่มีเกตุมาลา บริเวณวัดยังมีวิหารสังฆนิมิต ซึ่งเป็นวิหารที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูป และพระเครื่องรุ่นต่างๆที่หายากจำนวนมากเรือนแสนองค์นอกจากนี้ยังมีอุโบสถไม้ศิลปะทรงไทยแกะสลักสวยงามมาก
ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน
อยู่ที่ อ.คำม่วง เป็นศูนย์สาธิต(ผลิตและจำหน่ายผ้าไหมแพรวา) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแหล่งทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทย
พิพิธภัณฑ์สิรินธร
อยู่ อ.สหัสขันธ์ (ชื่อเดิม พิพิธภัณฑ์ใดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว)โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯได้พระราชทานนามใหม่เมื่อวันที่12 ตุลาคม 2549 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้านธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ระดับนานาชาติเกือบทุกสายพันธุ์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและนิทรรศการซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแหล่งรวบรวมโครงกระไดโนเสาร์ นอกจากนี้ยังพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืช มากกว่า 700 ชิ้น ซึ่งใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
พระธาตุยาคู(พระธาตุใหญ่)
อยู่ อ.กมลาไสย ตั้งอยู่บริเวณเมืองฟ้าแดดสงยางกลางทุ่งนา ทิศเหนือของบ้านเสมา เป็นสถูปแบบศิลปทวารวดี เป็นโบราณสถานฟ้าแดดสงยางแห่งเดียวที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ สร้างด้วยอิฐ (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ